ออมเท่าไรถึงจะพอ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าที่เราทำงานทุกวันนี้ก็เพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณใช่ไหมครับ ตอนนี้ใครยังทำงานใช้เดือนชนเดือนหรือใช้หนี้บัตรเครดิตอยู่จนไม่มีเงินเก็บอยู่ อาจจะต้องคิดหนักขึ้นเพราะระยะเวลาการทำงานที่น้อยลงไปทำให้เราต้องเก็บเงินเพื่อเกษียณในแต่ละเดือนมากขึ้น


ทุกคนเคยคิดหรือวางแผนกันหรือไม่ว่าในวันที่เกษียณจะต้องมีเงินเท่าไหร่จะพอใช้และตอนนี้นี้มีเงินเท่าไหร่แล้ว ขาดอีกเท่าไหร่ที่จะต้องหาเพิ่ม


ตัวอย่างคำนวณเงินออมแบบไม่คิดผลตอบแทน

สมมติง่ายๆ คำนวณโดยไม่คิดเรื่องผลตอบแทนที่ควรได้ หรือการลงทุนนะครับ เมื่อ 30 ปีก่อนกินข้าวราดแกงจานละ 20 บาท ตอนนี้ขึ้นเป็นจานละ 50 บาท ราคาขึ้นมา 1.5 เท่า ฉะนั้นเมื่ออายุ 60 ปี ข้าวราดแกงน่าจะประมาณจานละ 75 บาท ( อาจจะสูงกว่านี้ได้)


ฉะนั้นในวันที่เรามีอายุ 60 อยู่ไปจนถึง 85 ปี รวม 26 ปี กินข้าวปีละ 365 วัน วันละ 3 มื้อ มื้อละ 75 บาท รวมเป็นเงิน 2,135,250 บาท หู้วววววว เยอะอะไรขนาดนั้น นี่แค่ค่าอาหารธรรมดาๆ นะครับ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายฉุกเฉินอีก ถ้าวันนี้คุณอายุ 30 ปี แสดงว่ามีเวลาอีก 30 ปีจะอายุ 60 ปีจะต้องเก็บเงินปีละ 71,175 บาท หรือเดือนละประมาณ 5,931 บาท (โดยยังไม่ได้คำนวณอัตราเงินเฟ้อและผลตอบแทนจากการลงทุน)


แต่ถ้าวันนี้คุณณอายุ 40 ปี ยังไม่มีเงินเก็บเลยจะเหลือเวลาเก็บเงินเพียงแค่ 20 ปีจะต้องเก็บปีละ 106,762 บาทหรือประมาณเดือนละ 8,896 บาทเลยทีเดียว ถ้าพอมีเงินเก็บแล้วก็ลองหักลบดูนะครับ แต่ถ้าวันนี้อายุคุณเพิ่มเป็น 45 ปีระยะเวลาการทำงานและเก็บเงินจะน้อยลงเหลือแค่ 15 ปีแสดงว่าจะต้องเก็บเงินต่อเดือนมากขึ้นไปอีก

แนะนำการลงทุนเช่น

0
162