Internet Exchange Point

ตอนนี้ผู้ให้บริการ Cloud / Content Provider หลายเจ้าเริ่มมาตั้ง node ในไทย และมีการเชื่อมต่อ internet ขาในประเทศกันเรื่อยๆ ก็เลยได้โอกาสขอ Peering กันผ่าน IX ครับ ที่ดังๆ ประมาณนี้


Cloudflare

  • Peer อยู่กับ Thailand-IX
  • กดขอ peer ผ่านหน้าเว็บได้เลย https://peering.cloudflare.com/
  • Peer แล้วได้ route หา cloudflare วงที่ใช้รับ Traffic จาก Client (ขา Anycast), DNS 1.1.1.1 “ในไทย” เลย
  • ถ้าไม่ขอ peer จะได้มาแค่ ip ของ node ของ cloudflare ที่ TH-IX ผ่าน route server


Microsoft


Amazon

  • Peer อยู่กับ Thailand-IX และ BKNIX
  • ส่งเมลหา contact ตามข้อมูลใน peeringdb
  • Peer แล้วได้ route หา Amazon Cloud Singapore กับพวก Anycast และ Cloudfront
  • ถ้าไม่ขอ peer จะไม่ได้ route อะไรเลย


Twitch

  • Peer อยู่กับ Thailand-IX และ BKNIX
  • ส่งเมลหา contact ตามข้อมูลใน peeringdb
  • Peer แล้วได้ route หา node CDN ของ Twitch ไว้ดูสตรีมลื่นๆ
  • ถ้าไม่ขอ peer จะไม่ได้ route อะไรเลย


Fastly CDN

  • Peer อยู่กับ Thailand-IX และ BKNIX
  • ส่งเมลหา contact ตามข้อมูลใน peeringdb
  • ได้ route หา CDN Node ของ Fastly ที่อยู่ในไทย
  • ถ้าไม่ขอ peer จะได้ route บางส่วนผ่าน route server (แบบไม่ optimize)


Riot Games

  • Peer อยู่กับ Thailand-IX และ BKNIX
  • กรอกฟอร์มตาม link ใน peeringdb
  • ได้ Route หาเกม Valorant และเกมในเครือของ Riot Games
  • ถ้าไม่ขอ peer จะไม่ได้ route อะไรเลย


TWGate / ChungHwa Telecom Taiwan

  • Peer อยู่กับ BKNIX
  • ส่งเมลหา contact ตามข้อมูลใน peeringdb
  • ได้ route ลูกค้าทั้งหมดของ TWGate
  • ถ้าไม่ขอ peer จะได้ route บางส่วนผ่าน route server + ไม่รับประกาศ route ของเรา


Hurricane Electric

  • Peer อยู่กับ BKNIX
  • ส่งเมลหา contact ตามข้อมูลใน peeringdb
  • ได้ route ลูกค้าทั้งหมดของ HE.net (คำเตือน route เยอะมาก ประมาณ 150k prefix)
  • ถ้าไม่ขอ peer ได้ route บางส่วน (ประมาณ 100k prefix) — ถ้าไม่ได้ route ทาง BKNIX อาจ suppress ไว้อยู่ ถ้าอุปกรณ์รับไหวลองบอกให้เค้าปล่อยมาได้


เสริมให้สำหรับคนที่เข้ามาอ่านแล้ว งงๆ

Peering คือกระบวนการที่เครือข่าย (Networks) ต่าง ๆ มีการติดต่อกันโดยตรงที่จุดที่เรียกว่า Internet Exchange Point (IXP) เพื่อแลกเปลี่ยนการจราจรข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตระหว่างกันโดยไม่ต้องผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ระหว่างกลาง เพื่อลดความต้องการการส่งผ่านเน็ตเวิร์กของตัวเอง


การ Peering มีข้อดีดังนี้

  1. ลดค่าใช้จ่าย: การส่งข้อมูลผ่าน ISP อาจต้องมีค่าใช้จ่าย แต่การส่งข้อมูลผ่านการ Peering ที่ IXPs มักจะไม่มีค่าใช้จ่ายหรือมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า.
  2. ลดความล่าช้า: การส่งข้อมูลผ่านการ Peering ส่วนใหญ่จะเร็วกว่าเนื่องจากเส้นทางข้อมูลย่อยยิ่งขึ้น.
  3. เพิ่มความน่าเชื่อถือ: หากมีเส้นทางข้อมูลหลักมีปัญหา, เส้นทางผ่านการ Peering สามารถทำให้การจราจรยังคงไหลเวียนได้อย่างต่อเนื่อง.
  4. ควบคุมการจราจร: การมีการ Peering ทำให้องค์กรสามารถควบคุมการจราจรข้อมูลได้มากขึ้น ช่วยลดการพึ่งพา ISP.
  5. ประสิทธิภาพทางด้านความจุ: เครือข่ายสามารถขยายความจุได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อมีการ Peering และการจราจรเพิ่มมากขึ้น


ในการทำ Peering นั้น มีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก

  1. Public Peering: เป็นการ Peering ที่เกิดขึ้นที่ IXP ซึ่งเป็นจุดที่หลาย ๆ เครือข่ายเข้ามาเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย.
  2. Private Peering: เป็นการ Peering ที่เกิดขึ้นระหว่างเครือข่าย 2 ตัวโดยตรง หลายครั้งมักจะเกิดขึ้นระหว่างเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีจราจรข้อมูลสูง


ทั้งนี้, การทำ Peering นั้นต้องมีการตกลงกันระหว่างเครือข่ายที่เข้าร่วม ทั้งในเรื่องข้อตกลงเชิงเศรษฐกิจ, เทคนิค, และประเด็นการใช้งานต่าง ๆ

0
235