Web Application Firewall คือ

สวัสดีครับ วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับ Web Application Firewall หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า WAF โดยหัวข้อที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ ได้แก่

2022-09-29 11:04:01 - @ratanon

Web Application Firewall (WAF) คืออะไร?

Web Application Firewall (WAF) คือ บริการในการป้องกันการโจมตีเว็บแอ็พพลิเคชันในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งช่วยปกป้องเว็บแอปพลิเคชันโดยการกรองและตรวจสอบปริมาณข้อมูลคำขอ HTTP/HTTPS ระหว่างเว็บแอปพลิเคชันและอินเทอร์เน็ต โดยเป็นการป้องกันในโปรโตคอลชั้นที่ 7 (ใน OSI Model) สำหรับแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ที่ควรใช้ WAF คือ เว็บที่ต้องการรักษาความปลอดภัยจากภัยคุกคาม และการถูกโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดีที่อาจจะเกิดขึ้นได้ รวมถึงเว็บไซต์ทั่วไปก็ควรมีการใช้งาน WAF เช่นเดียวกัน เพื่อเป็นการเพิ่มความปลอดภัยจากการโจมตีทางไซเบอร์ และเพิ่มความสบายใจให้กับผู้ใช้งาน

หลักการทำงานของ Web Application Firewall (WAF)

หลักการทำงานของ Web Application Firewall (WAF) คือ เมื่อมีคำขอ HTTP/HTTPS จาก User คำขอดังกล่าวจะถูกกรองคำขอที่เป็นอันตรายออกโดยอัตโนมัติตาม policy หรือ rules ที่ได้มีการกำหนดไว้ ซึ่งความสามารถที่น่าสนใจของ WAF ส่วนหนึ่งมาจากความรวดเร็วและความสะดวกในการปรับเปลี่ยน policy หรือ rules เป็นการช่วยให้ตอบสนองต่อการโจมตีที่แตกต่างกันได้เร็วขึ้น เช่นในระหว่างการโจมตี DDoS การจำกัดอัตราความสามารถในการรับคำขอสามารถทำได้อย่างรวดเร็วโดยการปรับเปลี่ยน WAF โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์

Web Application Firewall (WAF) policy and rules

WAF ทำงานตาม policy หรือ rules ที่กำหนดโดยผู้ดูแลระบบเครือข่าย ซึ่ง policy หรือ rules ของ WAF แต่ละข้อได้รับการออกแบบมาเพื่อจัดการกับภัยคุกคามระดับแอปพลิเคชันหรือจุดอ่อนที่ WAF รู้จัก

Policy คือชุดของ Rules จะมีหน้าที่บริหารจัดการ rules, custom rules, exclusions, และ การปรับแต่งอื่นๆ

Rules คือ ข้อกำหนดในการตรวจสอบ HTTP(S) web request, web response และวิธีการดำเนินการเมื่อ request หรือ response ตรงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น

วิธีการดำเนินการเมื่อ request, response ตรงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มี 3 ประเภทหลัก ได้แก่

ประเภทการใช้งาน Web Application Firewall (WAF)

Web Application Firewall (WAF) มีประเภทการใช้งาน 3 ประเภท ได้แก่

  1. Network-based Web Application Firewall: WAF ชนิดนี้ใช้ฮาร์ดแวร์เป็นหลักทำให้มี latency ต่ำ แต่ Network-based เป็นตัวเลือกที่แพงและยังต้องมีการจัดเก็บและบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางกายภาพด้วย
  2. Host-based Web Application Firewall: WAF ประเภทนี้มีการรวมเข้ากับซอฟต์แวร์ของ แอปพลิเคชัน โซลูชันนี้มีราคาถูกกว่า Network-based WAF และให้ความสามารถในการปรับแต่งได้มากกว่า ข้อเสียของ WAF ที่ใช้ Host-based คือการใช้ทรัพยากรเซิร์ฟเวอร์ที่มาก ความซับซ้อนในการใช้งาน และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
  3. Cloud-based Web Application Firewall: WAF ประเภทนี้มีราคาไม่แพงและง่ายต่อการใช้งาน มีบริการการติดตั้งที่ครบถ้วนทุกอย่าง สำหรับค่าใช้จ่ายของ WAF ประเภทนี้จะเป็นการจ่ายแบบล่วงหน้า เนื่องจากผู้ใช้จ่ายเงินเป็นรายเดือนหรือรายปีสำหรับการรักษาความปลอดภัย และยังสามารถได้รับการเสนอโซลูชันที่ได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันภัยคุกคามใหม่ล่าสุดโดยไม่ต้องทำงานเพิ่มเติมหรือเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของผู้ใช้ ข้อเสียของ WAF บนคลาวด์คือผู้ใช้มอบความรับผิดชอบให้กับบุคคลที่สาม ดังนั้นคุณสมบัติบางอย่างของ WAF อาจเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ไม่ทราบ

คุณสมบัติและความสามารถของ Web Application Firewall (WAF)

Web Application Firewall (WAF) ป้องกันอะไรได้บ้าง

More Posts